คัมภีร์พระไตรปิฎก

ความสำคัญและคุณค่าของพระไตรปิฎก สามารถแยกออกได้ดังนี้P_6_13
 เป็นศาสดาของชาวพุทธ เนื่องจากพระไตรปิฎก ก็คือที่รวบรวมพระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าเป็นพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า นี่คือศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย เราจึงได้ถือกันมาเป็นหลักว่า จะต้องรักษาแล้วเล่าเรียน และปฏิบัติตามคำสอนในพระไตรปิฎก  2. เป็นเกณฑ์มาตรฐานว่าเป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ พระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกเป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานในการตัดสินความเชื่อถือและ การประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่า “เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่” ถ้าไม่เป็นไปตามที่ได้รวบรวมประมวลสังคายนาและรักษาสืบต่อไว้ในพระไตรปิฎก หรือคลาดเคลื่อนจากนั้น ก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ถ้าถูกต้องตามพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกก็ถือว่าเป็นพระพุทธศาสนา

 

                 3. เป็นองค์ประกอบพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนา ที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวด ๆ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งแต่ละหมวดก็มีคุณค่าอย่างมากมายเช่น พระวินัยปิฎก มีคุณค่าอยู่ 5 ประการ คือ (พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. 2542 : 79-80)
ประการที่ 1 พระวินัยคืออายุของพระพุทธศาสนา ตราบใดที่เรายังปฏิบัติตามพระวินัย ตราบนั้นพระพุทธศาสนาก็ยังคงดำรงอยู่
ประการที่ 2 พระวินัยเป็นด้ายร้อยเรียงลักษณะนิสัย/พฤติกรรมของคนไว้ในกรอบเดียวกัน
ประการที่ 3 ความมีคุณค่าและความเป็นกฎเกณฑ์ทางสังคมของพระวินัย ก็คือ เพื่อความเรียบร้อยดีงามของสังคมสงฆ์ และเพื่อความสบายใจของสังคมคฤหัสถ์
ประการที่ 4 พระวินัยสร้างหลักประกันให้บุคคลผู้ปฏิบัติทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น มีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน และเมื่อตายไปก็ตายอย่างมีสติ และย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ประการที่ 5 ความเป็นกฎเกณฑ์และความมีคุณค่าทางสังคมของพระวินัยเห็นจาก การรักษาวินัยก็คือ การรักษาศีล ซึ่งศีลมีลักษณะที่มีผลต่อสังคม 4 ประเด็นคือ
ประเด็นที่ 1 สังคมแห่งศีลธรรมเป็นสังคมที่มีรากฐานแข็งแกร่ง
ประเด็นที่ 2 สังคมแห่งศีลธรรมเป็นสังคมที่ไร้ทุกข์โทษ
ประเด็นที่ 3 สังคมแห่งศีลธรรมเป็นสังคมสะอาด
ประเด็นที่ 4 สังคมแห่งศีลธรรมเป็นสังคมแห่งความละอายและเกรงกลัวต่อความชั่ว
  4. เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการประพฤติตนเป็นคนดี มีศีลธรรมตามหลักของพระวินัย การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในการดำเนินวิถีชีวิตในแต่ละวันให้มีความสุข ตามหลักของพระสุตตันตปิฎก และเป็นแนวทางการเข้าใจถึงกฎของธรรมชาติ เข้าใจถึงไตรลักษณ์เพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ตามหลักของพระอภิธรรมปิฎก

 ที่มาhttp://www.br.ac.th/elearning/social/jitraporn/Buddhism%20%20M6/Unit6_1_2.html

ใส่ความเห็น